มาทำความรู้จักกับ OSI MODEL 7 LAYERS


มาทำความรู้จักกับ OSI MODEL 7 LAYERS


มาพูดถึง OSI Model กันบ้าง

            องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (The International Organization for Standardization) หรือที่เราเรียกย่อๆว่า ISO (ไอโซ่) ได้พัฒนา Model ของการทำงานบนระบบเครือข่ายขึ้นมาเป็นมาตรฐานกลาง ในปัจจุบันใช้เพื่ออ้างอิงการสื่อสารและเปรียบเทียบการทำงานบนเครือข่าย ผู้ผลิตหลายๆบริษัท ที่ผลิตอุปกรณ์หรือ software ต่างๆขึ้นมาก็จะต้องผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดขององค์ที่ดูแลในแต่ละส่วน ซึ่ง Model นี้ก็ถูกนำมาใช้มาเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจและอธิบายการทำงานของแต่ละส่วนได้ง่ายขึ้น !!!  ผมยกตัวอย่างของคำว่ามาตรฐานให้ดูง่ายๆครับ เช่น
เวลาขับรถเกียร์ออโต้ เราเข้าไปที่เกียร์ D ก็คือ ไปข้างหน้า เข้าไปที่เกียร์ R ก็ถอยหลัง ไม่ว่าเราจะซื้อยี่ห้อไหนมา ก็จะถูกออกแบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
และ Model ที่ผมพูดถึงนี้เรียกว่า Open System Interconnection (OSI) นั่นเอง !!!
อย่างที่ผมบอกนะครับ OSI Model เป็นเพียง Model ที่ใช้อ้างอิงในการสื่อสารเท่านั้น ปัจจุบันโลกเครือข่ายเราใช้งานบน TCP/IP เป็นหลักครับ แต่ที่ยังพูดถึง OSI Model เพราะว่า การแบ่งเป็น Layer ของมันสามารถมองเป็นภาพกว้างของการทำงานบนเครือข่ายในแต่ละส่วนได้ เพื่อมาใช้ในการสอน ในการอธิบาย และในการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้นครับ
ผมจะไม่ย้อนไปพูดถึงประวัติของมันนะครับ



OSI Model ใช้อ้างอิงการสื่อสาร (Reference Model) แบ่งออกเป็นชั้น (Layer) โดยมีตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึงสวรรค์ชั้น 7 (Layer 1 – 7) โดย Layer 1 จะอยู่ด้านล่างสุด และเรียงขึ้นไปจนถึง Layer 7 แต่ละ Layer ก็มีชื่อเรียกตามรูปแบบการสื่อสารและการทำงานของมันในแต่ละชั้นนั่นเอง
osi
บน OSI Model ก็จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
ตั้งแต่ Layer 1 – 4 เรียกว่า Lower Layer

ตั้งแต่ Layer 5 – 7 เรียกว่า Upper Layer

รูปภาพ 16

โดยส่วนมากเราจะวุ่นวายกันอยู่ที่ Lower Layer มากกว่า Upper Layer ครับ ใครที่ทำงานเป็น Network Engineer จะมองภาพออกครับว่า เราจะยุ่งอยู่กับ Lower Layer มากกว่า

ทีนี้เรามาดูกันว่าในแต่ละ Layer มันมีหน้าที่อะไรบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น